คลังเก็บหมวดหมู่: การเงิน

การเงิน

แรงงานเฮ ! ครม. ไฟเขียว ปรับขึ้นค่าแรง 17 อาชีพ เริ่มต้นวันละ 465 – 715 บาท

คณะรัฐมนตรี เห็นชอบปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา เริ่มต้นที่ 465 บาท สูงสุด 715 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถ

ครม ไฟเขียว ปรับขึ้นค่าแรง 17 อาชีพ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม. เห็นชอบประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สำหรับแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา เพื่อส่งเสริมให้แรงงานที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน

การเงิน

ครม ไฟเขียว ปรับขึ้นค่าแรง 17 อาชีพ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

สำหรับแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา มีดังนี้

กลุ่มช่างอุตสาหการ

– ช่างระบบส่งถ่ายกำลัง ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 495 บาท

– ช่างระบบปั๊มและวาล์ว ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 515

– ช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 500

– ช่างปรับ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 500 บาท

– ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก – แม็ก ด้วยหุ่นยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 520 บาท

– ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 545 บาท

ระดับ 2 ไม่ต่ำกว่าวันละ 635 บาท

ระดับ 3 ไม่ต่ำกว่าวันละ 715 บาท

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> “ยูโอบี” คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3.7% อานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น- บาทแข็ง

เรื่องการเงิน

“ยูโอบี” คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3.7% อานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น- บาทแข็ง

ธนาคารยูโอบี คาด GDP ไทยปี 2566 โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น เงินบาทแข็งและส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ

ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส

นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้งหลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง

โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆโดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ

เรื่องการเงิน

สถานการณ์เศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ทำให้ในปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้มูลค่าการอุบโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น

อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลง

ตั้งแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ กระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3

ค่าเงินบาท

ทีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆเช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> ธนาคารกรุงเทพ ยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

การเงิน-ดอกเบี้ยเงินกู้

ธนาคารกรุงเทพ ยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

ธนาคารกรุงเทพ ยังคงมาตรการดูแลช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ให้ก้าวผ่านความท้าทายทางเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 66 นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ในปี 2566 แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลงบ้าง แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะเผชิญความท้าทายในเรื่องต่างๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของราคาสินค้า การทยอยปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของลูกหนี้ในกลุ่มต่างๆ อาจจะไม่เท่ากัน ปัจจัยดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบกับกลุ่มเปราะบางที่ต้องมีการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก (Global Supply Chain) ด้วย

ธนาคารกรุงเทพให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลลูกค้าทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง พร้อมเป็น เพื่อนคู่คิด ที่อยู่เคียงข้างและก้าวผ่านวิกฤติไปด้วยกันในทุกสถานการณ์ และคาดหวังได้เห็นลูกค้าทุกรายสามารถเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ธนาคารมุ่งเน้นทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด เป็นที่ปรึกษา และดูแลลูกค้าให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าแต่ละราย โดยแบ่งการดูแลลูกค้าเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มลูกค้าที่ยังขาดสภาพคล่อง ธนาคารจะเร่งช่วยเหลือ ประคับประคองให้มีสภาพคล่อง รักษาการจ้างงาน ไม่เพิ่มภาระการชำระหนี้ให้กับลูกค้าในระยะนี้ โดยเฉพาะลูกค้าที่เปราะบาง เช่น บางรายอาจต้องขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือการปรับลดยอดผ่อนลงมา ให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้

2. กลุ่มลูกค้าที่ต้องการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในช่วงที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัว ซึ่งธนาคารจะช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้สามารถค้าขายหรือผลิตสินค้าบริการได้ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น

การเงิน-ดอกเบี้ยเงินกู้

3. กลุ่มลูกค้าที่ต้องการการสนับสนุนเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงเรื่อง ESG โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมในการปรับตัวดังกล่าว เพื่อให้ลูกหนี้สามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของ ธปท. ก็ยังสามารถใช้ในการช่วยเหลือลูกค้าได้อยู่ ได้แก่ มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเพื่อการปรับตัว มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย

มาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์สำนักธุรกิจ หรือ สาขาธนาคารทั่วประเทศ และบริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 02-645-5555 หรือ www.bangkokbank.com

ด้านเศรษฐกิจ.

อ่างทอง เร่งเสริมกระสอบทรายป้องกันเขตเศรษฐกิจ

อ่างทอง- เทศบาลเมือง พร้อมเจ้าหน้าที่ทหาร เร่งเสริมกระสอบทรายเสริมตามจุดเสี่ยงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ป้องกันเขตเศรษฐกิจ 

เศรษฐกิจโลก

วันที่ (12 ก.ย.) หลังจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ได้มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางเทศบาลเมืองอ่างทองได้ร่วมกับกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร กรมทหารราบที่31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุลี ทำการกรอกกระสอบทราย ที่บริเวณวัดสนามชัย ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

เพื่อนำไปเสริมตามจุดเสี่ยงริมเขื่อนกั้นน้ำ พร้อมเร่งเดินเครื่องสูบน้ำทำการสูบระบายน้ำ เพื่อป้องกันเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในตัวเมือง ไม่ให้กระทบกับพี่น้องประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อน หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ได้เพิ่มการระบายน้ำในวันนี้ 1,748 ลบ.ม./วินาที ส่งผลทำให้น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสถานี C.7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง เมื่อเวลา 13.00 น. มีระดับอยู่ที่ 7.09 เมตร จากระดับตลิ่ง 10 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,600 ลบ.ม./วินาที