คลังเก็บหมวดหมู่: สังคม

ข่าวสังคมไทย

กรุงเทพอภิวัฒน์ เทียบกับต่างประเทศ

สัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนเปรียบเทียบระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กับ สถานีกลางโตเกียวของญี่ปุ่นและสถานีกลางคิงส์ครอสของอังกฤษ

สถานีกลางของประเทศที่เจริญแล้วมีมากมายเป็นร้อยสถานี แต่เหตุที่อยากจะเปรียบเทียบกับ 2 สถานีนี้เพราะ สถานีโตเกียวเป็นสถานีที่เก่าแก่และใหญ่โตที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และก็สร้างพร้อม ๆ กับหัวลำโพง เพราะประเทศไทยและญี่ปุ่นเป็นชาติแรก ๆ ในเอเชียที่มีรถไฟและการขนส่งระบบราง

ขณะที่ญี่ปุ่นพัฒนาไปไกลมาก มีเอกชนลงทุนมากมายในเส้นหลายที่หลากหลาย แต่ก็ยังมีช่องว่างที่จะพัฒนาต่อและก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การมีรถไฟความเร็วสูงข้ามภูมิภาค การพัฒนาสร้างสายรถไฟและสถานีเพิ่มอย่างต่อเนื่องหรือแม้กระทั่งการพัฒนาสถานีรถไฟเดิม อาทิ สถานีกลางโตเกียวให้เป็นมิตรกับผู้โดยสารสัญจรมากขึ้น

สถานีกลางโตเกียวนั้นคับคั่งมากและมีความวุ่นวาย เพราะเป็นชุมทางสู่ภูมิภาค ดังนั้นจึงมีความซับซ้อนมากและถือเป็นจุดอ่อน ซึ่งทุกคนก็ต่างทราบดี การปรับปรุงสถานีโตเกียวล่าสุดจึงไม่ใช่เป็นเพียงการรักษาสถานีประวัติศาสตร์ แต่ยังทำให้สถานีเก่าที่วุ่นวายแห่งนี้ลดความซับซ้อนลง

ข่าวสังคมไทย

ป้ายบอกทางที่ชัดเจน การเพิ่มภาษาต่างชาติ การเพิ่มลิฟต์ เกมสล็อต ทางลาดและบันไดเลื่อนสำหรับผู้สูงอายุและพิการ ตลอดจนการเพิ่มร้านค้าร้านอาหารมากมายก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้สถานีโตเกียวดูเป็นมิตรกับผู้สัญจรมากขึ้น

อังกฤษซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของรถไฟที่ทั้งไทยและญี่ปุ่นนำมาใช้เป็นโมเดลในการพัฒนายุคเริ่มแรกนั้น ถึงแม้จะไม่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและคุณภาพรถไฟไม่ได้ดีเท่าญี่ปุ่น แต่ก็ถือได้ว่าไม่แย่ บุญเก่าซึ่งคือระบบรางที่ครอบคลุมทั้งในเมืองใหญ่และสู่ต่างจังหวัดยังทำให้การเดินทางโดยรถไฟสะดวกและค่อนข้างประหยัด

ถึงแม้เกาะอังกฤษจะแยกตัวออกมาอย่างเอกเทศในเชิงภูมิศาสตร์กับภาคพื้นทวีปยุโรป แต่การเชื่อมต่อกับยุโรปผ่านระบบรางล่องผ่านอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษที่เมืองโดเวอร์สู่ฝรั่งเศสนั้นก็เริ่มที่สถานีเซนต์แพนเครียส ซึ่งถือเป็นสถานีที่อยู่ติดกับสถานีคิงส์ครอส ซึ่งถือเป็นตัวอย่างในการเชื่อมการเดินทางระหว่างประเทศให้ง่ายขึ้น

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษไม่เพียงอำนวยความสะดวกต่อระบบรางเท่านั้นแต่ยังเป็นช่องทางในรถยนต์โดยสารไปมาระหว่างกันได้อย่างสะดวก โดยรถยนต์หรือรถบรรทุกสามารถข้ามทะเลได้โดยขับขึ้นไปจอดบนแพลตพอร์มและถูกลากไปด้วยหัวรถจักร

ที่สถานีเซนต์แพนเครียสซึ่งเป็นสถานีที่ถึงแม้จะพัฒนามาจากตึกเก่าแต่ก็มีความใหม่กว่าที่คิงส์ครอส ดังนั้นการตบแต่งจึงสวยงามมีร้านค้า ห้องน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือแม้กระทั่งมุมพักผ่อนหย่อนใจที่มากกว่าคิงส์ครอส สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีและไม่ไกลเกินเอื้อมที่กรุงเทพอภิวัฒน์จะนำแนวทางมาพัฒนาต่อยอดได้

หัวใจของสถานีกลางคือการเชื่อมต่อของระบบรางในเมืองใหญ่ และจากเมืองใหญ่สู่ภูมิภาคหรือแม้กระทั่งข้ามประเทศ ซึ่งไทยเรายังมีช่องว่างให้พัฒนาอีกมาก เพราะระบบรางของเราที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียหยุดพัฒนามานาน ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น จีน หรือแม้กระทั่งลาว ก็มีการพัฒนาต่อเนื่องบ้างไม่ต่อเนื่องบ้าง แต่ก็มีการพัฒนา

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนกรุงเทพฯต้องเผชิญกับรถติด เพราะระบบรางที่ดีในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่ครอบคลุมเชื่อมต่อเท่าที่ควร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น ภูเก็ต และหาดใหญ่ ที่ไม่มีแม้กระทั่งรถโดยสารประจำทาง คนกรุงเทพฯยังโชคดีกว่ามากมายนัก แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> เปิดข้อมูล ‘มูลนิธิคุ้มครองเด็ก’ ใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายเด็ก

มูลนิธิคุ้มครองเด็ก

เปิดข้อมูล ‘มูลนิธิคุ้มครองเด็ก’ ใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายเด็ก

รอง ผบ.ตร.เตรียมขออนุมัติหมายจับเจ้าของมูลนิธิคุ้มครองเด็กใน จ.สมุทรสงคราม ใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายเด็ก ด้าน ปลัด พม. จ่อเพิกถอนใบอนุญาตมูลนิธิฯ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล​ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการร้องเรียนได้ตั้งหลักสอบสวนจากคลิปวิดีโอ โดย ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ลงมาสอบสวนเรื่องนี้ จากการสืบสวนพบว่ามีการทำร้ายเด็กจริง และสอบปากคำเด็กและพบว่าครูยุ่นให้เด็กไปทำงานที่โรงแรมของเพื่อนสนิทผู้หญิง ซึ่งได้รวบรวมพยานหลักฐานแล้วที่จะอนุมัติหมายจับความผิดเรื่องทำร้ายร่างกายกับเรื่องใช้แรงงานเด็ก ซึ่งได้เรียกตำรวจภาค 7, ตำรวจจังหวัดสมุทรสงคราม, และผู้ที่เกี่ยวข้องวางแนวทางแล้ว แต่ตอนนี้ครูยุ่นนำเด็กหนีไป

รอง ผบ.ตร. ระบุว่า การกระทำของครูยุ่นวันนี้เข้าข่ายความผิดอาญา เมื่อนำเด็กหลบหนีไป ยิ่งเป็นการกระทำที่ชัดเจน ได้ให้เจ้าหน้าที่เก็บหลักฐานทั้งหมดในมูลนิธิฯ และให้ผู้กำกับสืบสวนภาค 7 ไล่ข้อมูลทั้งหมด และในวันนี้ (3 พ.ย. 2565) จะลงพื้นที่ไปติดตามความคืบหน้า เวลา 16.00 น. เพื่อเร่งรัดคดีให้ออกหมายจับ และดำเนินการต่อไป

ขณะที่นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า หลังทราบเรื่องในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มูลนิธิฯ รวมถึงสอบถามกับเด็กในวันที่ 29 ต.ค. จากนั้นวันที่ 30 ต.ค. ได้เข้าช่วยเหลือเด็กออกมาจำนวน 8 คน ยังเหลือเด็กที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ อีก 55 คน ซึ่งจะเร่งช่วยเหลือเพิ่มเติม พร้อมทั้งเร่งพิจารณาถอดใบอนุญาตตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก จากการพูดคุยกับเด็กพบว่าเป็นการใช้งานเด็กแต่เด็กไม่ได้ดังใจ ครูยุ่นจึงทำโทษ แต่ไม่มีบาดแผลทำร้ายที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การตีเด็กเป็นการกระทำกับเด็กชัดเจน ส่วนการใช้แรงงานเด็กในรีสอร์ตส่วนตัว ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กต้องสอบสวนอีกครั้ง

อัพเดทข่าวสังคม แนะนำข่าวเพิ่มเติม : ทัศนัย VS ธงชัย ปอกความหมาย ‘มหรสพสังคมไทย’

สังคมวันนี้

ทัศนัย VS ธงชัย ปอกความหมาย ‘มหรสพสังคมไทย’

ทัศนัย VS ธงชัย ปอกความหมาย ‘มหรสพสังคมไทย’ ในความเงียบงัน 70 ซ้อนชั้น งานศิลปะที่ต้องตีความไม่ต่ำกว่า 300 ปี

กลายเป็นภาพคุ้นชินของคนในแวดวงศิลปะ เมื่อเสียงที่เปล่งผ่านชิ้นงาน ‘แหลมคมเกินไป’ ก็มักจะถูกเบลอไม่ให้สื่อไปถึงสาธารณะ ไร้สิทธิเฉิดฉายในหอศิลป์ ซึ่งล่าสุด ลามไปถึงสถานที่จัดของเอกชน

สังคมวันนี้

แต่มีงานหนึ่งจงใจเซ็นเซอร์ตัวเอง “เงียบ แต่เสียงของงานเปล่งแทน”

ไม่นานมานี้ เกิดการปะทะกันของนักเชี่ยวชาญศาสตร์ 2 แขนง ทั้งศิลปะและประวัติศาสตร์ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน เดินทางมาร่วมทัศนาสงครามเย็นครั้งที่ 1 กับเจ้าของผลงานที่ติดหรากลางพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม อย่าง ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี ประจำสาขาวิชาสื่อศิลปะฯ คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่

ทั้งสองใช้กระบวนการอันคล้ายคลึงบางอย่าง ‘อ่าน’ ให้เข้าถึงแก่นของความสงัด แล้วค่อยๆ เผยมุมมองผ่านเสวนา ห้วงขณะอันลึกลับแห่งความเงียบงัน (The mysterious moment of silence) ซึ่งจัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม และสาขาวิชาสื่อศิลปะฯ มช. ศิษย์เก่า นักกิจกรรม นักศึกษาชาวไทยและนานาชาติ คณาจารย์สายศิลปะทั้งไทย-เทศ กลุ่มศิลปิน ตลอดจนประชาชน เข้าชมล้นหลาม

‘สงครามเย็น’ มีเรื่องเยอะกว่าที่เห็น

เพราะถูกปิดปากไม่ให้พูดในที่สาธารณะ เพราะมีสิ่งที่คิดแต่ไม่อาจส่งเสียง ‘ปฏิบัติการทางศิลปะ’ จึงกลายเป็นช่องที่เปิดพื้นที่ร่วมสะท้อนความเห็น เป็นแนวหน้าส่งคำถามให้ผู้คนลุกขึ้นทายท้าอำนาจ และคือสาเหตุหนึ่งของการจัดงานนี้

ในฐานะผู้รังสรรค์ชิ้นงานใหม่ ทัศนัยออกตัวว่า ไม่อยากให้สิ่งที่พูดเป็นการชี้นำความคิด แม้บางวันอยากพูด แต่พอจะเริ่มกลับท้อใจ เพราะมีหลายสิ่งเกี่ยวเนื่องอีนุงตุงนัง ไม่มีทิศทางชัด เริ่มต้นแล้วไปจบจุดใด ใช้การอ้างอิงขนาดไหนจึงจะสื่อสารให้เข้าใจได้ “สงครามเย็น มีเรื่องเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันด้านอวกาศ การช่วงชิงอำนาจและศีลธรรมทางการเมือง ฝั่งสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับฝั่งเสรีนิยม เกี่ยวข้องกับอุดมคติคริสเตียนที่สังคมไทยน้อมนำมาใช้ แล้วเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนาในที่สุด เกี่ยวข้องกับการกีฬา เรื่องภาพโป๊เปลือย ยาเสพติด ของเล่น มากมาย สิ่งที่เห็นภายใต้สงครามเย็น เกี่ยวข้องการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ทัศนัยย้อนขุดความรู้สึกที่ปะทุหลังผ่านพ้นเหตุการณ์รัฐประหารในไทยมาหลายหน ทะลุปล้องกรอบความคิดต่างๆ เชื่อมโยงภาพกว้างจนกลายเป็นแรงผลักดันบางอย่างโหมลงไปเล่าผ่านงาน และหวังว่าถ้าสื่อสารสำเร็จ จะช่วยเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm) ของสังคมและยุคสมัยได้ เหมือนที่ ‘การเขียน’ ทำ หยอดมุข ต้องตีความไม่ต่ำว่า 300 ปี นานาสัญลักษณ์ ซ่อนใน 70 ชั้น ในนิทรรศการ “ห้วงขณะอันลึกลับแห่งความเงียบ” ทัศนัยได้ซ่อนสัญลักษณ์ต่างๆ มากมายไว้ในเลเยอร์ของผลงาน ยากจะอธิบาย ถึงขั้นพูดเล่นๆ กับเพื่อนว่า งานนี้ต้องใช้เวลาตีความถึง 300 ปี

ด้านเศรษฐกิจ.

อ่างทอง เร่งเสริมกระสอบทรายป้องกันเขตเศรษฐกิจ

อ่างทอง- เทศบาลเมือง พร้อมเจ้าหน้าที่ทหาร เร่งเสริมกระสอบทรายเสริมตามจุดเสี่ยงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ป้องกันเขตเศรษฐกิจ 

เศรษฐกิจโลก

วันที่ (12 ก.ย.) หลังจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ได้มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางเทศบาลเมืองอ่างทองได้ร่วมกับกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร กรมทหารราบที่31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุลี ทำการกรอกกระสอบทราย ที่บริเวณวัดสนามชัย ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

เพื่อนำไปเสริมตามจุดเสี่ยงริมเขื่อนกั้นน้ำ พร้อมเร่งเดินเครื่องสูบน้ำทำการสูบระบายน้ำ เพื่อป้องกันเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในตัวเมือง ไม่ให้กระทบกับพี่น้องประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อน หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ได้เพิ่มการระบายน้ำในวันนี้ 1,748 ลบ.ม./วินาที ส่งผลทำให้น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสถานี C.7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง เมื่อเวลา 13.00 น. มีระดับอยู่ที่ 7.09 เมตร จากระดับตลิ่ง 10 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,600 ลบ.ม./วินาที